Internet of Things: เมื่อทุกสรรพสิ่งเชื่อมต่อกัน

ห่างหายจากการอัพบล๊อกไปนานแสนนาน ช่วงนี้แอบยุ่งอยู่ครับ ทั้งงาน ทั้งเล่นเกม ยุ่งแค่ไหนน่ะหรอ? วันนี้ผมจะมาเล่าเกี่ยวกับอีเวนต์หนึ่งซึ่งผมได้ไปเข้าร่วมมาครับ ป่ะ… อ่านกัน

 

เมื่อวันเสาร์ที่ 24 มกราคมที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสไปร่วมงาน Software Expo Asia: Digital Integration ซึ่งจัดโดย Software Industry Promotion Agency หรือที่เราคุ้นหู(มั้ง)ว่า SIPA ร่วมกับ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในงานมีทั้งการออกบูท และประชุมสัมนาวิชาการมากมาย

เกริ่นซะเยอะ จริงๆแล้วผมไปร่วมงานด้วยจุดประสงค์คืออยากไปเข้าฟังการประชุมเกี่ยวกับ Internet of Things (IoT) (ที่จะเอามาพูดนี่แหละ) เกริ่นอีกสักรอบ ที่ผมสนใจใจหัวข้อนี้เนื่องจากค่อนข้างที่จะตรงกับโปรเจคจบของผม, ผมอยากไปขอรับคำปรึกษาจากผู้ที่ทำงานด้านนี้เผื่อจะเอามาใช้ในโปรเจคจบได้, และ หัวข้อนี้มันน่าสนใจจริงๆแหละ

iot-2-850x750

picture credit

           เข้าเรื่องละนะ… พูดถึงคำว่า Internet of Things หรือ Internet of Every Thing หรือ IoT หลายๆคนอาจจะเคยได้ยินผ่านหูมาบ้าง ผมเชื่อแหละว่าต้องเคยได้ยินคำเหล่านี้มาเพราะมันเป็นเทรนด์ที่กำลังมาเลยนะ ถ้าเราจะจำกัดความง่ายๆสั้นๆสำหรับเจ้า IoT มันก็คือ การที่สิ่งของต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้า, อาคารต่างๆ, รวมถึงเซนเซอร์ สามารถติดต่อขึ้นระบบอินเตอร์เน็ต และสร้างเครือข่ายที่สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันเองได้! พูดให้ง่ายๆขึ้นอีกก็คือ

ทุกสิ่งมันเริ่มคุยกันเองแล้วแหละ

พูดให้เห็นภาพก็อย่างเช่น เซนเซอร์วัดความชื้นแจ้งเตือนให้ระบบสปริงเกอร์รดน้ำในสวนหลังบ้านเรา ระบบตรวจจับแสงและอุณหภูมิภายในบ้านปรับแสงสว่างและอุณหภูมิ(สั่งเครื่องปรับอากาศน่ะนะ)ให้มีสภาวะในรูปแบบที่เหมาะสมเพื่อการประหยัดพลังงานมากขึ้น

แต่เดี๋ยวก่อน! นั่นน่ะเป็นแค่ด้านการค้าที่เอามาติดเล่นที่บ้าน จริงๆแล้ว IoT สามารถครอบคลุมไปในด้านอื่นได้อีกเช่น ด้านอุตสาหกรรม เช่นการใช้เซนเซอร์ตรวจจับการทำงานต่างๆของระบบเพื่อความปลอดภัย, ลดภาระค่าใช้จ่าย, และอื่นๆ

หรือมองในมุมที่ใหญ่ขึ้นมาอีก… เมืองอัจฉริยะเลยยยย ลองคิดดูครับว่ากล้องตรวจจับจราจร รวมทั้งเซนเซอร์ต่างๆสามารถคุยกัน ปรึกษากัน(เหมือนคนเลยเนอะ) แล้วแจ้งไปยังป้ายจราจรได้ว่า ตรงนี้เกิดอุบัติเหตุนะ ตรงนี้รถติดเลี่ยงไปทางนี้ได้นะ บลาๆๆ ชีวิตคงดูสะดวกสะบายขึ้นเยอะเลย

Internet of Things เริ่มมาจากไหนนะ

จริงๆแล้วอุปกรณ์ชิ้นแรกๆที่ถูกเชื่อมต่อขึ้นอินเตอร์เน็ตเนี่ยมีมาตั้งแต่ ค.ศ. 1982 แล้วก็ไม่นานเนาะ เปลี่ยนเป็นพ.ศ. ก็แค่ 2525 (เป็นคนก็วัยกลางคนละนะ = =”) โดยอุปกรณ์ชิ้นนั้นก็คือ… เครื่องจำหน่ายโค้ก! ซึ่งถูกให้กำเนิดที่ Carnegie Mellon University รัฐเพนซิลเวเนีย, สหรัฐอเมริกา ความไม่ธรรมดาของเจ้าเครื่องนี้คือ มันสามารถรายงานจำนวนสินค้า และความเย็นของโค้กที่เพิ่งจะใส่เข้าไปได้ เจ๋งงงงง!!!

แต่คำว่า Internet of Things เนี่ยถูกเรียกใช้(เหมือนซัมมอนมอนสเตอร์เลยเนอะ)ครั้งแรกตั้งแต่ปี ค.ศ. 1999 หรือก็คือ พ.ศ. 2542 โดยผู้เริ่มคำๆนี้ก็คือ นักธุรกิจชาวอังกฤษ Kevin Ashton ซึ่งเขากำลังทำงานเกี่ยวกับเทคโนโลยี Radio-frequency Identification(RFID – นึกถึงบัตรเปิดประตู บัตรMRT BTS อะไรประมานนั้น) ที่มีโครงการชื่อว่า Auto-ID Centers

แล้วอะไรที่ทำให้ Internet of Things มาๆหายๆ?

ตอบได้อย่าง(ค่อนข้าง)ชัดเจนเลยครับว่าสิ่งที่ทำให้เจ้า IoT ผลุบๆโผล่ๆ แล้วกลับมาบู้มมม (เป็นโกโก้ครั้นช์) ก็คือการพัฒนาของเทคโนโลยีครับ ซึ่งผมขอแบ่งเป็นสองอย่างแล้วกัน คือ Embedded Modules, Sensors, & Actuators หรือ สิ่งที่จะใช้รังสรรค์ Things และ ระบบการติดต่อสื่อสาร

Things

เห็นได้ชัดครับว่าเทคโนโลยีทำให้อุปกรณ์ต่างๆอย่าง Embedded Board หรือสิ่งที่ใช้ประมวลผล, Sensors ก็เซนเซอร์แหละเนอะ และ Actuators หรือตัวปฏิบัติงาน มีขนาดที่เล็กลงแถมราคาถูกลงด้วยยย

หลักๆก็อย่างEmbedded Board รุ่นฮิตๆเมื่อก่อนก็จะเป็น Arduino Uno บอร์ดที่มีขนนาดใกล้เคียงบัตรเครดิต ราคาเหยียบพัน ซึ่งมันคือบอร์ดที่เราสามารถลงโปรแกรมให้มันประมวลผลจากเซนเซอร์ที่เอามาเชื่อมต่อ และสั่งให้ตัวปฏิบัติการทำงานได้ แต่!ถ้าจะเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตหรอ? ต้องเสียค่าโมดูลมาเสียบให้มันต่ออินเตอร์เน็ตได้อีก ซึ่งราคาก็… เหยียบพันเช่นกัน สมัยก่อนผมจะซื้อมาลองเล่นก็คิดแล้วคิดอีก เดี๋ยวนี้หรอ? ดูอย่างเจ้า ESP8266 สิ อันเท่านิ้วโป้ง ราคาหลักร้อย เขียนโปรแกรมใส่ได้ เชื่อมต่อไวไฟได้เลย อะไรจะคุ้มขนาดนั้น ถึงกับมีรุ่นพี่คนหนึ่งกล่าวว่า “ซื้อมาเล่นๆทิ้งๆขว้างๆยังได้เลย”

ส่วนเซนเซอร์และตัวปฏิบัติงานน่ะหรอ เมื่อก่อนวัดนู่นนี่ที ก็อาศัยต่อวงจร กว่าจะได้ก็เหนื่อยอยู่นะ ความหลากหลายในการวัดค่าก็น้อย เดี๋ยวนี้จะวัดนู่นนี่ก็มีให้เสร็จสรรพ ขนาดเล็กลงหน่อยแหละ ตัวปฏิบัติการเมื่อก่อนผมก็เล่นแค่เปิดปิดLED หมุนๆมอเตอร์ แต่ส่วนนี้ก็ยังคล้ายๆสมัยก่อน(ฮา)

ระบบการติดต่อสื่อสาร

ลองนึกถึงสมัยก่อนเวลาจะต่อเน็ตเล่น RO หรือ Maple(ผมเล่นอันนี้ > w<) แต่ละทีสิครับ สับสายโทรศัพท์ ต่อเน็ตดังตริ้ดด ติ้ดๆ ลั่นบ้าน ไวไฟก็ไม่มี เดี๋ยวนี้? ก็อย่างที่เห็นครับ มีทั้งระบบเชื่อมต่อแบบมีสาย ไร้สาย แถมความเร็วยังเร็วกว่าเดิมตั้งเยอะ

นอกจากการเชื่อมต่อขึ้นอินเตอร์เน็ตแล้ว การเชื่อมต่อภายในระบบเช่น การเชื่อมต่อของเซนเซอร์ภายในบ้านก็ยังพัฒนาขึ้นตั้งเยอะ มีทั้งโปรโตคอลและโมดูลให้เลือกใช้เยอะแยะ ZigBee MQTT CoAp หูยยย หลากหลาย อุปกรณ์จะคุยอะไรกันก็คุยไปเล้ยยย

 

ช่วงเพ้อฝัน

ผมเป็นคนหนึ่งที่หันมาชอบด้านเทคโนโลยีเพราะฮาร์ดแวร์ครับ เมื่อก่อนจะชอบต่อหุ่นยนต์(รถ) แล้วโปรแกรมให้มันวิ่งตามเส้นงี้ หลบสิ่งของงี้ มันรู้สึกว่ามันเจ๋ง เขียนโปรแกรมแล้วเห็นเป็นอะไรที่จับต้องได้เลย

พอลองมาคิดดูว่า IoT ทำอะไรได้ มันทำให้เรารู้สึกเหมือนเป็นพ่อมดเลยนะครับ เสกให้ของที่ไม่มีชีวิต (ดูเหมือน)มีชีวิตและเริ่มที่จะพูดคุยกันได้เอง

ลองคิดดูว่ากลับมาบ้านเหนื่อยๆ เจออุณหภูมิที่ชอบ แสงสว่างพอเหมาะ ข้าวที่เย็นก็อุ่นเรียบร้อย… อ่า สบายจัง

หรือผมเป็นคนชอบปลูกต้นไม้ ลองคิดดูว่าต้นไม้สามารถบอกเราได้ว่า “หิวน้ำแล้ววว” “อยากได้อาหาร(ปุ๋ยสูตรนี้ๆ)เพิ่มจังครับ” พอเราใส่ๆไป พวกเขาก็ออกดอกออกผลมา ใครจะไม่ชอบ

เมืองอัจฉริยะที่เราขับรถไปตามทางที่รถติดน้อยที่สุดได้ มีระบบแจ้งอีเวนต์ที่ชอบเมื่อเข้าใกล้สถานที่ ใครจะไม่ชอบกันนน

เพ้อฝันไหม ก็นิดนึงนะ แต่ลองคิดดู เรามาไกลขนาดไหน(ฮ่าๆ) แล้วเรายังจะไปต่อได้เร็วและไกลแค่ไหน ขึ้นอยู่กับมือของพวกเราแหละเนอะ

//ช่วงโฆษณา

ใครที่สนใจแต่ยังไม่รู้ว่าจะเริ่มจากตรงไหนนะครับ ลองคิดดูก่อนว่าอยากทำอะไรเล่น ซื้ออุปกรณ์ แล้วลองเขียนโปรแกรมตรวจจับอะไรง่ายๆ หลังจากนั้นหากไม่รู้จะให้บรรดา Things ที่รักคุยกันอย่างไรเข้าไปดูที่ NetPie.io ได้เลยครับ NetPie เป็นแพลตฟอร์มที่พัฒนาโดย NECTEC ของไทยนี่แหละ ใช้พัฒนา IoT ได้ มีไลบรารี่ให้เลือกใช้อยู่พอสมควร ผมเองก็ใช้ (ฮา)

 

จบโพสแล้ว ผมหวังว่าหลายๆคน(อาจจะ)ได้แนวคิดของ Internet of Things เพิ่มขึ้น และก็(แอบ)หวังว่าจะไปจุดประกายให้ใครบางคน (หลายๆคนก็ได้นะ) หันมาสนใจเรื่องนี้มากขึ้น หันมาสร้างสรรค์ และพัฒนาให้ชีวิตสะดวกสบายมากขึ้นกันครับ 🙂

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s